วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ผักบุ้งจีน




ผักบุ้งจีนเป็นพืชผักเมืองร้อนชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภคกันมาก ผักบุ้งที่ปลูกในประเทศไทยมีอยู่ 2 ประเภทคือ ผักบุ้งไทย ซึ่งมีดอกสีม่วงอ่อน ลำต้นสีเขียวหรือม่วงอ่อน ใบสีเขียวเข้ม ก้านใบมีสีม่วง และผักบุ้งจีน ลักษณะใบมีสีเขียว ก้านสีเหลืองหรือขาว ก้านดอกและดอกมีสีขาว
ผักบุ้งจีนเป็นผักที่อยู่ในตระกูล Convolvulaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea aguatica Forsk เป็นผักพื้นเมืองของทวีปเอเชียเขตร้อน อาฟริกา และออสเตรเลีย แล้วแพร่กระจายไปยังเขตร้อนต่าง ๆ ของโลก ผักบุ้งจีนเป็นผักที่ปลูกเพื่อบริโภคส่วนของใบและลำต้น โดยนำมาใช้ประกอบอาหารได้อย่าง กว้างขวาง เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง รับประทานสด แกง ก๋วยเตี๋ยว หรือใช้เป็นผักจิ้มนํ้าพริกก็ได้ จึงนิยมปลูกผักบุ้งจีนเป็นการค้าอย่างแพร่หลาย ทั้งการปลูกเพื่อบริโภคสด และการผลิตเมล็ดพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันผักบุ้งจีนได้พัฒนา เป็นพืชส่งออกที่มีความสำคัญ โดยการส่งออกทั้งในรูปผักสดและเมล็ดพันธุ์ ผักบุ้งจีนเป็นพืชผักที่นิยมรับประทานกันมาก เนื่องจากผักบุ้งจีนมีคุณค่าทางอาหารสูง ประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะวิตามินเอซึ่งช่วยบำรุงสายตาได้เป็นอย่างดีมีปริมาณสูงถึง 9,550 หน่วยสากล ในส่วนที่รับประทานสดได้ 100 กรัม หรือมีวิตามินเอสูงถึง 6,750 หน่วยสากล ในส่วนที่รับประทานได้เมื่อสุกแล้ว 100 กรัม นอกจากนี้ ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกด้วย ประกอบกับผักบุ้งจีนเป็นผักที่ปลูกง่าย โตเร็ว สามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ทุกฤดูกาล และอายุการเก็บเกี่ยวสั้น จึงนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย

ตำลึง

สรรพคุณ
ตำลึงอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์สูง เช่น สารเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และหัวใจขาดเลือด มีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูก และฟัน และยังมีฟอสฟอรัส เหล็ก ไนอาซิน วิตามินซีและอื่น ๆ นอกจากนี้ จากการค้นคว้าของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ตำลึงมีเส้นใยอาหารที่สามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ในกระเพาะอาหาร อีกด้วย สำหรับตำรายาแผนโบราณ ตำลึงถือเป็นยาเย็น ใบช่วยขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อาการแพ้ อักเสบ แมลงมีพิษกัดต่อย แก้แสบคัน เจ็บตา ตาแดงและตาแฉะ แก้โรคผิวหนัง และลดน้ำตาลในเลือด
  • ราก : แก้ดวงตาเป็นฝ้า ลดความอ้วน แก้ไข้ทุกชนิด ดับพิษทั้งปวง ฝนทาภายนอก แก้ฝีต่างๆ แก้ปวด
  • บวม แก้พิษร้อนภายใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบต่อย
  • ต้น : กำจัดกลิ่นตัว น้ำจากต้น รักษาเบาหวาน
  • เปลือกราก : เป็นยาถ่าย ยาระบาย
  • เถา : แก้ฝี ทำให้ฝีสุก แก้ปวดตา แก้โรคตา แก้ตาฝ้า ตาแฉะ แก้พิษอักเสบจากลูกตา ดับพิษร้อน ถอนพิษ เป็นยาโรคผิวหนัง แก้เบาหวาน
  • ใบ : เป็นยาพอกรักษาผิวหนัง รักษามะเร็งเพลิง แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด แก้หืด รักษาผื่นคันที่เกิดจากพิษของหมามุ้ย ตำแย บุ้งร่าน ใช้เป็นยาเขียว แก้ไข้ ดับพิษร้อน ถอนพิษทั้งปวง แก้ปวดแสบปวดร้อน ถอนพิษคูน แก้คัน แก้แมลงกัดต่อย แก้ไข้หวัด แก้พิษกาฬ แก้เริม แก้งูสวัด
  • ผล : แก้ฝีแดง
  • ทั้งห้า รักษาโรคผิวหนัง รักษาอาการอักเสบของหลอดลม รักษาเบาหวาน
สรรพคุณทางยาและวิธีใช้
  • รักษาโรคเบาหวาน : ใช้เถาแก่ๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ หรือน้ำคั้นจากผลดิบ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จะสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้
  • ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ : ควรรับประทานสด ๆ เพราะเอนไซม์ในตำลึงจะย่อยสลายง่ายเมื่อโดนความร้อน
  • ลดอาการคัน อาการอักเสบเนื่องจากแมลงกัดต่อยและพืชมีพิษ : นำใบตำลึงสด 2-20 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ คั้นเอาน้ำ ทาบริเวณที่เป็นจนกว่าจะหาย (ใช้ได้ดี สำหรับหมดคันไฟ หรือใบตำแย)
  • แผลอักเสบ : ใช้ใบหรือรากสด ตำพอกบริเวณที่เป็น
  • แก้งูสวัด, เริม : ใช้ใบสด 2 กำมือ ล้างให้สะอาด ผสมพิมเสนหรือดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วน พอกหรือทาบริเวณที่เกิดอาการ
  • แก้ตาช้ำตาแดง : ตัดเถาเป็นท่อนยาวประมาณ 2 นิ้วนำมาคลึงพอช้ำ แล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หยอดตา
  • ทำให้ใบหน้าเต่งตึง : นำยอดตำลึง 1/2 ถ้วย น้ำผึ้งแท้ 1/2 ถ้วย นำมาผสม ปั่นให้ละเอียด พอกหน้า ทิ้งไว้ 20 นาที แล้วล้างออก ทำทุกวันได้จะดีมาก
การปรุงอาหาร
ยอดอ่อนและใบอ่อนของตำลึงนำไปลวกและนึ่งเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกและนำไปปรุงอาหารเป็นแกงเลียง แกงจืด ผัก บางท้องถิ่นชาวบ้านนำผลอ่อนของตำลึงไปดองและนำไปรับประทานกับน้ำพริกหรือปรุงเป็นแกงได้ ยอดอ่อนของตำลึงเป็นผักที่คนไทยนิยมรับประทาน มีจำหน่ายในตลาดสดทุกภาคของเมืองไทย


วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ดอกแคร์






ดอกแคร์ช่วยบำรุงสายตาและต้านมะเร็ง

ต้นแคร์ เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม กิ่งจะเปราะง่ายใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ดอกคล้ายดอกถั่ว ออกดอกแบบช่อประมาณช่อละ 2-4 ดอก ดอกมีทั้งสีขาว สีแดง สีชมพู ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ฝักจะมีลักษณะกลมแบนๆ ยาว ดอกแคอุดมด้วยสารอาหารต่างๆ โดยเฉพาะเบต้าแคโรทีนที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ แคจึงช่วยบำรุงสายตาและด้านมะเร็ง อีกทั้งช่วยเสริมสร้างกระดูก เพราะมีแคลเซียลและฟอสฟอรัสสูง

ประโยชน์ตำรายาไทย
ดอกแคร์ สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายอย่าง ใส่แกงส้ม ต้มจิ้มน้ำพริก ดอกแคและยอดอ่อน ยังช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน เปลือกลำต้นเมื่อนำมาต้นน้ำให้เดือด 30 นาที ใช้น้ำต้มชะล้าง


ข้อแนะนำ
สำหรับดอกแคร์ ก่อนนำไปปรุงอาหารควรแกะไส้ในออกก่อน มิฉะนั้นจะมีรสขม รับประทานไม่อร่อย