วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

มะเขือเปราะ



สรรพคุณ / ประโยชน์ของมะเขือเปราะ

คุณค่าทางอาหารของมะเขือเปราะ

มะเขือเปราะ 100 กรัม ให้พลังงาน 39 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย โปรตีน 1.6 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 7.1 กรัม แคลเซียม 7 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม ไทอะมิน 0.11 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.6 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.06 มิลลิกรัม น้ำ 90.2 กรัม วิตามินเอรวม 143 RE. วิตามินซี 24 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของมะเขือเปราะ
-
ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ ลดความดันเลือด
-
บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน เนื่องจากมะเขือเปราะมีสรรพคุณคล้ายกับอินซูลินลดปริมาณน้ำตาลในเลือด คนเป็นเบาหวานที่มีมะเขือเปราะเป็นผักคู่ใจเลยอาการดีวันดีคืน
-
ช่วยขับพยาธิ ลดการอักเสบ
-
ช่วยให้ระบบย่อยและระบบขับถ่ายทำงานดี
-
มีประโยชน์ต่อตับอ่อน ทำให้ตับแข็งแรงทำงานได้มีประสิทธิภาพ

สรรพคุณของมะเขือเปราะ
-
มะเขือเปราะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดฆ่าเชื้อแบคทีเรียและขับปัสสาวะ
-
การแพทย์อายุรเวทของอินเดียใช้รากมะเขือเปราะ รักษาอาการไอ หอบหืด อาการหลอดลมอักเสบ ขับปัสสาวะ และขับลม
-
ผลใช้ขับพยาธิ ลดไข้ ลดอักเสบ ช่วยการขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร และกระตุ้นทางเพศ ประชากรในแคว้นโอริสสาของประเทศอินเดียใช้น้ำต้มผลมะเขือเปราะรักษาโรคเบาหวาน งานวิจัยนานาชาติระหว่างปี พ.ศ.2510-2538 พบว่า ผลมะเขือเปราะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ และลดความดันเลือด
-
ผลมะเขือเปราะมีไกลโคอัลคาลอยด์โซลามาร์จีน โซลาโซนีน และอัลคาลอยด์โซลาโซดีนที่ปราศจากโมเลกุลน้ำตาล การทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสารเหล่านี้พบว่า ทุกตัวมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและลำไส้ใหญ่
-
พบว่าฤทธิ์ของไกลโคอัลคาลอยด์สูงกว่าโมเลกุลไร้น้ำตาล ราก ต้นและผลแก่มีสารอัลคาลอยด์เหล่านี้ต่ำ แต่ผลเขียว (เหมือนที่คนไทยกิน) มีสารที่มีประโยชน์เหล่านี้ในปริมาณสูงกว่าส่วนอื่นของพืชดังกล่าว
-
สารโซลาโซดีนใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สเตียรอยด์คอร์ติโซนและฮอร์โมนเพศได้ ผลตากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำผึ้งใช้ปรุงยาแก้ไอ
-
งานวิจัยที่แคว้นโอริสสา ประเทศอินเดีย ใช้สารสกัดน้ำของผลมะเขือเปราะลดปริมาณน้ำตาลในเลือดของหนูเบาหวานอะล็อกซาน พบว่าได้ผลลดน้ำตาลในเลือดดีเท่ากับการใช้ยากลิเบนคลาไมด์ (glibenclamide)

มะเขือเทศ

 




มะเขือเทศเป็นพืชล้มลุกอายุเพียง 1 ปี ลำต้นตั้งตรง มีลักษณะเป็นพุ่ม มีขนอ่อน ๆ ขอบใบเป็นหยักลึกคล้ายฟันเลื่อย มีผลเป็นผลเดี่ยว มะเขือเทศจะมีสารจำพวก แคโรทีนอยด์ เป็นพืชชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร วิตามินซี วิตามินเอ โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามิน บี1 บี2 วิตามินเค
คุณประโยชน์
  • ช่วยคงความสดชื่นให้ผิวหน้าด้วยการใช้ผลสุกพอกหน้าจะทำให้ผิวหน้าเต่งตึงอ่อนนุ่ม และมะเขือเทศยังช่วยรักษาสิว ได้อีกด้วย
  • สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ช่วยเป็นยารักษาโรคผิวหนัง โดยใช้ใบตำให้ละเอียดทาบริเวณที่เป็น
  • ผลมีรสเปรี้ยว เสริมวิตามินซี เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยดับกระหาย ช่วยให้กระเพาะอาหาร ลำไส้ ไต ให้ทำงานได้ดีขึ้น และยังสามารถต้านอนุมูลอิสระ ขับสารพิษจากร่างกาย และเหมาะที่จะเป็นอาหารสำหรับคนเป็นโรคนิ่ว วัณโรค ไทฟอยด์ หูอักเสบ และเหยื่อตาอักเสบ โดยรับประทานผลสด ผู้ที่รับประทานมะเขือเทศเป็นประจำ จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมากได้
  • ช่วยแก้อาการปวดฟัน โดยนำราก ลำต้น และใบแก่ต้มกับน้ำรับประทาน

มะระ



มะระมีคุณสมบัติในการการบำบัดและรักษาโรคเบาหวานระยะเริ่มต้นด้วยสารอาหารในมะระซึ่งทำหน้าที่เพิ่มเบต้าเซลล์ในตับอ่อน โดยการกระตุ้นให้เกิดการสร้างอินซูลิน (ฮอร์โมนควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด) อีกทั้งมะระยังมีเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรต สารอาหารจะผสมอยู่ในรูปของโปรตีนซึ่งสามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคตับและโรคเบาหวานได้ มะระยังสามารถแก้โรคตับอักเสบ ปวดหัวเข่า ม้ามอักเสบได้
มะระยังมีคุณค่าทางอาหารมากมายเพราะอุดมไปด้วยฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซี วิตามินบี1 - บี3, เบต้าแคโรทีน, ไฟเบอร์, ธาตุเหล็ก, โพแทสเซียม
เมนูอาหารจากมะระ ได้แก่ ต้มจืดมะระยัดไส้, มะระต้มจับฉ่าย, ผัดะมะระหมูสับ, มะระผัดกุ้ง, มะระผัดน้ำมันหอย เป็นต้น หากจะลดความขมของมะระต้องลวกหรือต้มนาน ๆ โดยคลุกเคล้ากับเกลือก่อนที่จะนำไปปรุงหรือต้มน้ำแล้วเทน้ำทิ้ง 1 ครั้ง ก่อนนำมารับประทานจะช่วยให้กินมะระได้อย่างอะเร็ดอร่อย 
สำหรับข้อควรระวัง เราทานมะระที่ดิบ ๆ กันได้ แต่ห้ามรับประทานมะระที่มีผลสุก เพราะอาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียนได้   เนื่องจากมีสารซาโปนินอยู่มาก ซึ่งสารนี้จะทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย อีกอย่างอย่าทานมะระมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ท้องเสีย เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบาย

ผักชีลาว


การปลูกผักชีลาว
การเตรียมดินในการปลูก ผักชีลาว (Dill) : มีการฟื้นดิน ตากแดดให้แห้งเพื่อทำลายเชื้อโรคและวัชพืชที่อยู่ในดิน ทิ้งไว้ประมาณ 10 วัน หลังจากนั้นก็ทำการ พรวนดิน เก็บเศษวัชพืชต่างๆ และนำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วมาใส่คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ทั้งนี้เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าพบว่าดินเป็นกรด ควรนำปูนขาวมาคลุกกับดินเพื่อปรับสภาพของดินให้เหมาะในการเพาะปลูก 

วิธีปลูก ผักชีลาวมี 2 วิธี 
วิธีที่ 1 เตรียมเมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ในการปลูก แล้วหว่านเมล็ดพันธุ์ให้ทั่วแปลง 
วิธีที่ 2 วัดระยะห่างของหลุมประมาณ 15 x 15 เซนติเมตร ใช้ไม้ขีดเป็นตารางให้เท่าๆ กัน ใช้ไม้หรือนิ้วจิ้ม แล้ว หยอดเมล็ดลงตามตารางที่ขีดไว้ เสร็จแล้วจึงใช้ดินกบแล้วรดน้ำด้วยบัวรดน้ำ

ผักชี



ผักชีเป็นพืชผักสมุนไพร มักลิ่นหอม อายุสั้นประมาณ 40-60 วัน สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำ ที่ดี ปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ผักชีเป็นผักที่ใช้ใบ ก้านใบและลำต้นบริโภค เป็นผักเครื่องเคียงและปรุงแต่งอาหาร ให้มีรสชาติ และกลิ่นหอมน่ารับประทาน
  • ใบผักชี มีสรรพคุณในทางเป็นสมุนไพรคือ จะใชัในการช่วยย่อย บำรุงกระเพาะ เจริญอาหาร ขับลมขับพิษ แก้หวัด ขับเหงื่อ ช่วยย่อยอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด แก้โรคหัด พอกทาแก้ผื่นคัน แก้ไฟลามทุ่ง แก้ตับอักเสบ ลดการปวดบวมข้อ ต้มดื่มแก้ไอ แก้หวัด อาหารเป็นพิษ แก้สะอึก กระตุ้นการทำงานของเลือดพลาสมา และกล้ามเนื้อ มีสารต้านมะเร็ง ต้านแบคทีเรีย เชื้อรา และไข่ของแมลง จึงใช้ถนอมอาหาร
  • ลูกผักชี แก้พิษตานซาง แก้กระหายน้ำ แก้ลมวิงเวียน แก้บิด ถ่ายเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร แก้ปวดฟัน ช่วยย่อยอาหาร ขับลม บำรุงธาตุ ต้มน้ำอาบเมื่อเป็นหัด แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ใช้ผลเตรียมน้ำมันผักชีซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหย หากถูกผิวนานๆอาจระคายเคืองได้
  • ราก เป็นกระสายยา กระทุ้งพิษไข้หัว เหือดหัด อีสุกอีใส อีดำอีแดง
    กากลูกผักชี (หมายถึงลูกผักชีที่สกัดเอาน้ำมันออกแล้ว) มีโปรตีน 11-17 % ไขมัน 11-20% จึงเหมาะที่จะใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ดี ผงลูกผักชีบดใช้โรยแผลกันเชื้อฝีหนองได้ นอกจากนี้แล้ว ลูกผักชียังใช้เป็นเครื่องเทศผสมเครื่องแกง ผักดอง ไส้กรอก แต่งกลิ่นอาหารต่างๆโดยเฉพาะเหล้ายิน แต่งกลิ่นช็อกโกแลต โกโก้ ได้

ผักสลัด



คุณประโยชน์ของผักจัดจาน(ผักกาดหอม)


คุณค่าอาหาร

ผักกาดหอม 100 กรัม ให้พลังงาน 24.00 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย โปรตีน 2 กรัม ไขมัน 0.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม แคลเซียม 16 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม เหล็ก 4.9 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 173.17 ไมโครกรัม เส้นใย 1.80 กรัม วิตามินบี1 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.18 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 9.00 มิลลิกรัม
สรรพคุณทางยา
ผักกาดหอมมีแอนติออกซิแดนท์หลายชนิด ช่วยในการป้องกันและต่อต้านมะเร็งได้
ผักกาดหอมเป็นแหล่งรวมคลอโรฟิลล์และวิตามิน เค
ผักกาดหอมเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก เพราะมีแคลอรี่ต่ำ
ผักกาดหอมเป็นแหล่วของธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงโลหิต บำรุงสมองและระบบประสาท
หากทานผักกาดหอม รวมกับแครอทและผักขมจะช่วยบำรุงสีของเส้นผมให้สวยงาม

ต้นหอม



ต้นหอมเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กตระกูลเดียวกับกระเทียม มีหัวสีขาวบ้างก็ปนสีม่วงอยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่สะสมอาหาร ใบเป็นท่อยาว ปลายแหลม ภายในกลวง ดอกมีสีขาวออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ช่อดอกเมื่อบานมีลักษณะคล้ายร่ม มีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก ต้นหอมกินได้ทั้งใบ ดอก และหัว มีกลิ่นฉุนและรสซ่า นิยมนำไปกินเป็นผักเคียงกับอาหารชนิดอื่นๆ เช่น ข้าวหมูแดง ส่วนใบใช้ตกแต่งโรยหน้าอาหาร และใส่ในต้ม ผัด ยำ แกงต่างๆ หรือนำไปดอง